วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่ 1 ประวัติและความเป็นมาของพระพุทธศาสนา


หลัง จากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพานที่เมืองกุสินาราแล้ว ได้มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัย จัดไว้เป็นหมวดหมู่จนกระทั่งสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชพระพุทธศาสนามีความ เจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งและได้มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัยเป็นครั้งที่ 3 ในสมัยของพระองค์หลังจากทำสังคายนาแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงจัดส่งสมณทูต จำนวน 9 สาย อ่านต่อ

บทที่ 2 พุทธประวัติและชาดก


พุทธประวัติ  พระสาวก ศาสนิกชนตัวอย่างและชาดก-ให้นักเรียนย่อเรื่องพุทธประวัติ ,พระสาวกพุทธสาริกา,ชาวพุทธตัวอย่างละชาดกให้พิมพ์เรื่องย่ออย่างน้อย30 บรรทัศ
อ่านต่อ

บทที่ 3 วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี

วันมาฆบูชา : โอวาทปาฏิโมกข์
ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ หรือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ในปี
   อธิกมาสเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณภายใต้ต้นอัสสัตถพฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ พระองค์ประทับเสวยวิมุติสุขในเขตปริมณฑลนั้นเป็นเวลา ๗ สัปดาห์ จากนั้นจึงเสด็จไปโปรดคณะปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี อ่านต่อ

บทที่ 4 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา


พุทธศาสนิกชนควรมีความรู้ในหลักธรรมที่เป็นพื้นฐานแห่งความเจริญแห่งชีวิต อันได้แก่ จักร 4 และทิฏฐธัมมิกัตถะ 4 โดยสามารถนำปัญญาที่ประกอบด้วยธรรม คือ สัปปุริสธรรม 7 และมรรคมีองค์ 8 เข้าตรวจสอบคุณภาพชีวิตของตน สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางที่เหมาะสมกับการดำเนินชีวิต เพื่อความผาสุกแก่ตนเองและสังคม อ่านต่อ

บทที่ 5 พระไตรปิฏกและพุทธศาสนสุภาษิต

พระไตรปิฎก เป็นคัมภีร์ที่บรรจุคำสอนของพระพุทธศาสนา ซึ่งเรียกรวมๆ ว่า พุทธธรรม คำว่าพระไตรปิฎก มาจากภาษาบาลี ติปิฏก แปลว่า ตะกร้าสามใบ หรือคำสอนสามหมวด (ติ หมายถึง สาม ปิฏก หมายถึง ตำรา คัมภีร์ หรือกระจาด) ซึ่งคำสอนสามหมวดนี้ ได้แก่
 -พระวินัยปิฎก หรือ พระวินัย ได้แก่ประมวลระเบียบข้อบังคับของบรรพชิตที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้สำหรับภิกษุและภิกษุณี
 -พระสุตตันตปิฎก หรือ พระสูตร ได้แก่ประมวลพระพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยังที่ต่างๆ ให้เหมาะกับบุคคล สถานที่ และเหตุการณ์ มีเรื่องราวประกอบ อ่านต่อ